ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค วัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานครอบคลุมทั่วทุกหมู่บ้าน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของท้องถิ่น (2) เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดไว้ใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ (3) ไฟฟ้าสาธารณะติดตั้งทั่วทุกพื้นที่ในเขตตำบลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอาชญากรรม เป้าหมาย (1) ทุกชุมชนมีเส้นทางคมนาคมที่ได้มาตรฐานใช้สำหรับสัญจรไปมาไปมาและขนส่งสินค้าเข้าสู่เมือง (2) ประชาชนทุกครัวเรือนในตำบลมีน้ำสะอาดไว้ใช้สำหรับอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอทั้งบ้านเรื่องที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม (3) ทุกเส้นทางภายในเขตตำบลสว่างไสว ปัญหาอุบัติเหตุและอาชญากรรมลดลง แนวทางการพัฒนา เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและการดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ที่วางไว้จึงกำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ดังนี้ (1) การขยายเส้นทางคมนาคมให้เชื่อมต่อกันทั่วทั้งหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง ตลอดจนถึงเส้นทางคมนาคมสายหลัก เพื่อความสะดวกในการขนส่งผลิตภัณฑ์ในชุมชนออกสู่เมืองต่าง ๆ (2) การปรับปรุงเส้นทางคมนาคมสะพานที่มีอยู่เดิมให้อยู่ในสภาพดี และให้ได้มาตรฐาน มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน (3) การแก้ไขและป้องกันปัญหาน้ำท่วมขัง ถนนทรุดตัว และหน้าดินพังทลาย (4) การสนับสนุนและส่งเสริมให้การประปาภูมิภาคเข้ามาดำเนินการจ่ายน้ำประปาแทนระบบประปาบาดาล (5) การสนับสนุนให้มีการขยายเขตท่อส่งน้ำประปาเข้าสู่ทุกชุมชนและครัวเรือน (6) การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนถนนทุกสายภายในตำบล และขยายเขตไฟฟ้า (7) การติดตั้งไฟกระพริบหรือสัญญาณเตือนภัยตรงจุดเสี่ยงในการที่เกิดอุบัติเหตุ 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน วัตถุประสงค์ (1) เพื่อเสริมสร้างกลไกและกระบวนการเรียนรู้ในการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) เพื่อยกระดับรายได้ของประชาชนให้สูงขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ (3) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ของชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็งพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ (4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีการเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับกระแสความเจริญจากเขตเมืองเข้าสู่ชุมชน เป้าหมาย (1) ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล และมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการชุมชนและองค์กร (2) ประชนมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมิต้องอาศัยการค้ำจุนของหน่วยงานรัฐ (3) ประชาชนเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองที่จะต้องพึงปฏิบัติต่อชุมชนและสนับสนุนให้ชุมชนของตนเองมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปในด้านต่าง ๆ (4) ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และธุรกิจของตนเองได้ แนวทางการพัฒนา เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีศักยภาพเพียงพอ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรองรับความเปลี่ยนแปลงหรือความเจริญที่ขยายตัวจากเมืองเข้าสู่ชุมชน โดยไม่เกิดความเหลื่อมล้ำหรือความขัดแย้งของกลุ่มชุมชน ดั่งเดิม และชุมชนที่เคลื่อนย้ายมาจากชุมชนอื่น จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ (1) การพัฒนากลุ่มผู้นำท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบการบริหารการปกครอง และความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อนำไปถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชนของตนเองเข้าใจและเห็นความสำคัญในการที่จะเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่นการบริหารจัดการองค์กรและการปกครอง (2) การพัฒนาและเสริมสร้างให้ประชาชนในชุมชนมีอาชีพ มีความรู้ความสามารถในการที่จะประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับตนเอง โดยมิต้องพึ่งพาหรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ (3) พัฒนาและฝึกอบรมให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐ และบทบาทของตนเอง ที่มีต่อรัฐและหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อชุมชนของตนเอง (4) จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สู่โลกแห่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเปิดให้บริการแก่ประชาชนเข้ามาสัมผัสและเรียนรู้การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดทักษะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือธุรกิจของตนเอง และเพื่อเป็นการรองรับความเจริญที่ขยายตัวเข้ามา 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและคุณค่าทางสังคม วัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ประชาชนในตำบลมีสุขภาพอนามัยที่ดี เข้าถึงหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง (2) ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง มีความทัดเทียมกันทางการศึกษา (3) ส่งเสริมสันทนาการและนันทนาการให้กับเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป (4) เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (5) สร้างสังคมในชุมชนให้น่าอยู่ปราศจากยาเสพติด (6) เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมกระตุ้น ให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น มีแหล่งค้นคว้าความรู้ (7) ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามทางพุทธศาสนา วัฒนธรรม การบริหารกิจการศูนย์เด็กเล็ก (8) ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษา (9) ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง มีความทัดเทียมกันทางการศึกษา (10)ส่งเสริมสันทนาการและนันทนาการให้กับเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป (11) ส่งเสริมและสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น (12) ส่งเสริมกิจกรรม/งานวัฒนธรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน (13) ส่งเสริมให้มีสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล เป้าหมาย (1) ประชาชนในตำบลมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีบัตรประกันสุขภาพทั่วถึงทุกคน (2) เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมมาตรฐานการศึกษาชาติ (3) ประชาชนในตำบลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหาความยากจน หรือความขัดแย้งในชุมชนลดลงมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น (4) ในชุมชนปราศจากผู้ค้า ผู้เสพได้รับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง (5) พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในด้านการศึกษาของศูนย์เด็กเล็กดีขึ้น (6) ประชาชนร่วมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นกิจกรรมทางศาสนาให้คงอยู่ต่อไป (7) เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมมาตรฐานการศึกษาชาติ (8) เด็ก เยาวชน และประชาชนในตำบลที่มีส่วนร่วมในสันทนาการ และนันทนาการที่องค์กรจัดทำขึ้นโดยมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมและแผนงาน (9) ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจ และสานต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น (10) ชุมชนมีเวที/เสนอแนะปัญหาความต้องการทางวัฒนธรรมและมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ แนวทางการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง ชุมชนมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมสันทนาการเพื่อให้ห่างไกลยาเสพติด สังคมในชุมชนมีความน่าอยู่ ปราศจากปัญหายาเสพติด มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ดังนี้ (1) การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแข่งขันกีฬาและการออกกำลังกายทุกประเภท ส่งเสริมให้ประชาชนจำหน่าย และบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนจัดทำบัตรประกันสุขภาพ การป้องกันโรคติดต่อ (2) ส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการสอดส่องและดูแล (3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพหลักและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพเสริม สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี และพัฒนาฝีมือแรงงานและการประกอบอาชีพ (4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ และผู้พิการเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ผู้สูงอายุและผู้พิการ (5)รณรงค์ให้เยาวชน และประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและบำบัดผู้ติดยาเสพติด (6) ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานตำรวจชุมชนประจำตำบล ฝึกอบรม อปพร. และจัดตั้งหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยประจำหมู่บ้าน (7) ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมเพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนจัดตั้งแหล่งข้อมูลข่าวสารจากรัฐ (8) จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน สนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน จัดสถานที่ให้ความรู้สำหรับหมู่บ้านส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม (9) บำรุงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ บริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก สนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (10) ขยายโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพในการศึกษาทุกระดับให้ตรงกับความต้องการพร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ (11) จัดตั้งศูนย์เยาวชนประจำตำบลเพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก และเยาวชนในตำบลได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสันทนาการและนันทนาการ ( 12) ส่งเสริมและสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืนโดยจัดให้มีสภาวัฒนธรรมชุมชนหมู่บ้าน มีศูนย์การเรียนรู้ทางวัฒนธรรมให้ประชาชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วมแก้ไขปัญหาร่วมพัฒนาพื้นที่ของตนในมิติวัฒนธรรม 4. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมมีสภาพฟื้นคืนสู่สภาพดั่งเดิม (2) เพื่อให้คุณภาพน้ำในลำคลองมีเกณฑ์สูงกว่าหรือเท่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (3) สร้างชุมชนให้เป็นชุมชนปลอดมลภาวะเป็นพิษหรือสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (4) สร้างชุมชมให้สะอาด ปราศจากขยะสิ่งปฏิกูลและของเสียอันตราย (5) สร้างชุมชนให้เป็นเมืองสีเขียว น่าอยู่อาศัย เป้าหมาย (1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมได้รับการบำบัดและฟื้นฟูให้มีสภาพดั่งเดิมอย่างยั่งยืน (2) คุณภาพน้ำในลำคลอง ได้รับการบำบัด ฟื้นฟูให้มีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (3) ลดปริมาณมลพิษทางน้ำ อากาศ ฝุ่นละออง เสียง (4) ชุมชนสะอาด ไม่มีขยะตกค้าง และไม่มีกลิ่นเหม็นของสิ่งปฏิกูลและไม่มีของเสียอันตรายที่จะเป็นพิษต่อประชาชนในชุมชน (5) ในชุมชนมีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีต้นไม้หนาแน่น มีอากาศบริสุทธิ์และร่มรื่น แนวทางการพัฒนา เพื่อมุ่งหวังที่จะให้พื้นที่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือ เป็นชุมชนน่าอยู่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความสะอาดเป็นระเบียบ ร่มรื่น มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม น้ำมีคุณภาพดี อากาศบริสุทธิ์ ปราศจากมลภาวะ ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ดังนี้ (1) เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริม และรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชน (2) สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของประชาชนในการเรียนรู้การพิทักษ์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและจัดการสิ่งแวดล้อม (3) สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านและชุมชน (4) เฝ้าระวัง รวมตลอดจนบำบัด ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพสมบูรณ์ เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของประชาชน (5) ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและของเสียอันตราย (6) ควบคุมการสุขาภิบาลของอาคาร สถานที่ และสถานประกอบการ 5.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการเมือง การบริหาร และการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน วัตถุประสงค์(1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และการบริหารจัดการ (2) พัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถในการให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม และเกิดความพึงใจจากผู้มารับบริการ (3) การบริการประชาชนด้วยความเสมอภาค โปร่งใส ตรวจสอบได้ (4) พัฒนาระบบการเมืองการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพเข้มแข็งตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและชุมชนได้ในทุกรูปแบบ (5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความเลื่อมใสศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (6) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการบริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วถูกต้อง และทันต่อเหตุการณ์ เป้าหมาย (1) ภาคราชการและภาคเอกชนมีความร่วมมือกันในการจัดทำแผนการพัฒนาตำบล ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารจัดการ (2) บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการให้บริการแก่ประชาชนได้ในทุก ๆ ด้าน รวดเร็ว ถูกต้อง ประชาชนพึงพอใจ (3) ประชาชนได้รับการบริการด้วยความเสมอภาค เท่าเทียมกัน และสามารถขอข้อมูลเอกสาร และเข้าตรวจสอบได้ (4) คณะผู้บริหารและสมาชิกสภามีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชุมชน การวางแนวนโยบาย และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล และชุมชนได้ แนวทางการพัฒนา ด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือ มุ่งหวังที่จะให้ประชาชนในตำบลได้เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาของชุมชน นอกจากนั้นยังต้องการให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการและความช่วยเหลือต่าง ๆ จากภาคราชการ พร้อมทั้งต้องการให้หน่วยงานมีความโปร่งใส เปิดเผย ประชาชนเข้าตรวจสอบได้ องค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือ จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล และทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในชุมชน การบริหารจัดการชุมชน (2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรศึกษาต่อ เข้าฝึกอบรม และพัฒนาประสิทธิภาพของตนเอง พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน (3) จัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ และศูนย์รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ (4) ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภาให้มีศักยภาพ วิสัยทัศน์กว้างไกล (5) การรณรงค์และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย (6) การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศประจำตำบล ศูนย์อินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน และศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสาร
|
|